เปิดรับสมัครสมาชิก เข้าใช้งานเว็บไซต์ ผ่าน SmartPhone พันธ์ R...ตะวันใหม่ Art...ดี

Archive for ธันวาคม 2013

ตราสัญลักษณ์ (Logo)


โลโก้ ศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษาแบบครบวงจร
วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี

ภายใต้สัญลักษณ์ประกอบด้วย

- เรือใบ หมายถึง การพาณิชย์
- คลื่น หมายถึง การฝ่าฟันอุปสรรค
- ใบไม้ หมายถึง ต้นกล้าที่พร้อมจะเจริญเติบโตในด้านธุรกิจ

ความหมายของสี


สีเหลือง หมายถึง แนวคิดจิตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ ของศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษาแบบ   ครบวงจรที่พร้อมจะมอบให้กับผู้ที่ยินดี และพร้อมที่จะรับบริการจากเรา ทุกคน ทุกกลุ่ม


สีฟ้า หมายถึง ความก้าวหน้า ความมั่นคง อย่างไม่หยุดยั้งเปรียบเสมือนน้ำทะเลอันกว้างไกลที่ไร้ขีดจำกัด




สีเขียว หมายถึง การเติบโต และมิตรภาพ ที่ศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษาแบบครบวงจร วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี มีให้กับผู้รับบริการทุกคน

แนะนำและติชม เว็บไซต์ศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษาแบบครบวงจร วิยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี


เชิญคุณร่วมแสดงความคิดเห็น แนะนำ ติชม กับศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษาแบบครบวงจร รวมถึงเว็บไซต์ของเรา คำแนะนำของคุณเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อเราในการปรับปรุงพัฒนา ศูนย์บ่มเพาะฯ ของเราให้มีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น เราขอขอบคุณทุกข้อเสนอแนะที่ส่งถึงเรา
# หากการแสดงผลหน้านี้มีปัญหา กรุณาคลิกที่นี่เพื่อไปยังแบบฟอร์มสำรอง


ดาวน์โหลด




โลโก้ศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษาแบบครบวงจร
วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี
ประเภทไฟล์ : EPS

****************************************

ใบสมัครสมาชิก ศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษาแบบครบวงจร
วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี
ประเภทไฟล์ : PDF

****************************************

รูปเล่มรายงานโครงการหารายได้ระหว่างเรียนของ ศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษาแบบครบวงจร
วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี
ประเภทไฟล์ : Microsoft Office Word (.docx)

****************************************

แบบฟอร์มเขียนแผนธุรกิจแบบย่อของ ศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษาแบบครบวงจร
วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี
ประเภทไฟล์ : Microsoft Office Word (.docx)

****************************************



ไฟล์รูปและเอกสารที่ใช้ในการประเมินศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษาแบบครบวงจร
วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี
ประเภทไฟล์ : Microsoft Office Word (.docx) และ PSD และ JPG
หมายเหตุ : ไฟล์ขนาด 240 MB เอกสารมีขนาดใหญ่ ควรใช้อินเทอร์เน็ตที่มีความเร็วสูงในการดาวน์โหลด


บริษัท อิ่มอุ่น จำกัด


แนวคิดการดำเนินธุรกิจ


         บริษัทอิ่มอุ่น  จำกัด  ธุรกิจผู้ผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ชุดผ้าบนโต๊ะอาหาร”  ได้นำผ้าทอมือพุมเรียงมาพัฒนารูปแบบให้เป็นผ้าปูโต๊ะที่มีความสวยงามทันสมัย เหมาะสำหรับเป็นของใช้ในครอบครัวธุรกิจร้านอาหารภัตตาคารและโรงแรมต่างๆ ตลอดจนสามารถนำไปเป็นของขวัญของฝากในโอกาสพิเศษต่างๆ  บริษัทอิ่มอุ่น  จำกัด  ดำเนินกิจการในรูปแบบบริษัทจำกัด  โดยมีผู้ถือหุ้น 7 คน  ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ ทักษะ และความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่หลากหลาย  มีแนวคิดมาจากโครงการศูนย์ศิลปาชีพบางไทร ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ  โดยบริษัทได้น้อมนำการพัฒนาส่งเสริมการประกอบอาชีพพื้นถิ่น  เน้นการสร้างมูลค่าเพิ่มและต่อยอดภูมิปัญญาชาวบ้านให้เป็นงานหัตถศิลป์เชิงพาณิชย์สร้างงาน  สร้างอาชีพ  สร้างรายได้ให้แก่ชุมชน   โดยมีสโลแกน  ขับเคลื่อนภูมิปัญญาท้องถิ่น  สู่งานหัตถศิลป์สร้างสรรค์  ร่วมคิดร่วมสร้างแบ่งปัน  ยกมาตรฐานผลิตภัณฑ์สู่สากล”  ขนาด  2  ที่นั่ง  ราคา   3,500  บาท  ขนาด  4  ที่นั่งราคา   4,500  บาท  ขนาด  6  ที่นั่งราคา  5,500  บาท  และโต๊ะกลม  4  ที่นั่งราคา  2,500  บาท ผ้าทอมือเป็นการถักทอด้วยลวดลายวิจิตรบรรจงในรูปแบบอันเป็นเอกลักษณ์ โดยใช้เส้นด้ายที่ร้อยเชื่อมจิตใจคนในชุมชนเข้าด้วยกัน ผ่านฤดูกาลเวลามายาวนาน ผ่านการสะสมความรู้และประสบการณ์หลายต่อหลายรุ่นบรรพชน กลายเป็นภูมิปัญญาอันล้ำค่าของตำบลพุมเรียง อำเภอไชยา จังหวัด สุราษฎร์ธานี  หรือเป็นที่รู้จักกันในนามของ กลุ่มทอผ้าบ้านพุมเรียง
การทอผ้าได้กลายเป็นวิถีชีวิตของคนในชุมชนแห่งนี้มาหลายชั่วอายุคน ชาวพุมเรียงมีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย รักใคร่และมีความเอื้ออาทรซึ่งกันและกัน   ยังคงยึดมั่น  รักษาวัฒนธรรม ประเพณีและวิถีชีวิตดั้งเดิมไว้   และแม้ปัจจุบันการทอผ้าฝ้ายจะค่อย ๆ จางหายไปจากชุมชน   แต่ก็ยังมีอีกหลายคนที่พยายามสืบสานและพัฒนาต่อไป เพื่อให้ผ้าทอมือสิ่งที่ทรงคุณค่าแห่งภูมิปัญญาของบ้านพุมเรียงเป็นมรดกสืบสานต่อไปตราบชั่วลูกหลาน   ผ้าทอพุมเรียงมีลวดลายเป็นเอกลักษณ์    ได้รับการทอดมาจากบรรพบุรุษโดยการเก็บลายผ้าทอไว้เป็นตัวอย่างในรูปแบบผ้าครู   ส่วนบางลาย  เช่น  ลายพุ่มข้าวบิณฑ์ได้มาจากการแกะลายจากผ้าห่อพระไตรปิฏก ลายราชวัตรหรือลายดอกโคมเป็นลายที่ได้รับชื่อพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อครั้งเสด็จมาเยี่ยมหัวเมืองไชยาอันมีหลักฐานปรากฏในปัจจุบันคือร้านอาหารพลับพลาในเขตตำบลพุมเรียงนั่นเอง 
ผ้าทอพุมเรียงเป็นผ้าที่มีคุณภาพดี  ราคาเหมาะสม  ผู้บริโภคนิยมนำมาตัดเย็บเป็นชุดสำหรับทำงานหรือสวมใส่ในงานพิธีต่างๆ  หรือเย็บเป็นผ้าถุง ผ้าขาวม้า ปลอกหมอน ผ้าม่าน ผ้าพันคอ กระเป๋า ฯลฯ  ซึ่งสินค้าที่กล่าวมานี้ยังขาดความแปลกใหม่และเป็นสินค้าที่ไม่บ่งบอกถึงความเป็นเอกลักษณ์ของผ้าทอพุมเรียง  อ.ไชยา  จ.สุราษฎร์ธานี


ผลิตภัณฑ์ของอิ่มอุ่น



การใช้งานจริง







ห้างหุ้นส่วน “ART… ดี"

“เพื่อนคู่คิด  มิตรชุมชน  เสริมสร้างผลิตผล  กับ...ART...ดี


                ปัจจุบันนี้ประเทศไทย  มีกระแสการสร้างงานผลิตภัณฑ์ในชุมชนต่างๆ มากมาย  การสร้างสินค้าของแต่ละชุมชนโดยอาศัยการต่อยอดภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีความชำนาญอยู่ก่อนแล้ว นำมาถ่ายทอดและพัฒนารูปแบบ วัสดุ กรรมวิธีการผลิต และการตลาด ให้เป็นสินค้า หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์อย่างน่าภูมิใจกันทั่วไป  เริ่มตั้งแต่ผู้คิด ผู้ลงมือทำ ผู้ขาย หรือ ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ ช่วยกันขายนั่นเองเรปฏิเสธไม่ได้ว่าการออกแบบมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการของผู้บริโภค  หลายๆ  ธุรกิจที่ประสบความสำเร็จได้นั้นส่วนหนึ่งเกิดจากการออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ที่แปลกใหม่ทั้งบรรจุภัณฑ์ยังทำให้กิจการสามารถยกระดับสินค้าให้มีมูลค่าที่สูงขึ้น  ส่งผลให้กิจการมีผลกำไรสูงขึ้นเช่นกัน
ดังนั้นนักออกแบบผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่หันไปออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ให้กับธุรกิจขนาดใหญ่ๆ  ซึ่งให้ผลตอบแทนแก่นักออกแบบสูงกว่า  ทำให้ธุรกิจสินค้าชุมชนหลายชนิดแม้ว่าจะมีผลิตภัณฑ์ที่ดีมีคุณภาพแล้ว  แต่ก็ยังเข้าถึงการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่มีความทันสมัยได้ยากและมีค่าใช้จ่ายสูง
                จากจินตนาการสู่แนวคิดที่เกิดประโยชน์ใช้สอยได้จริงการดำเนินธุรกิจในครั้งนี้เป็นการฝึกประสบการณ์ทางด้านวิชาชีพนำมาใช้ออกแบบผลิตภัณฑ์สำหรับชุมชน  เรา  ห้างหุ้นส่วน  ARTดี”  เป็นกลุ่มนักเรียนนักศึกษาที่มีความรู้ความสามารถในการออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์สื่อสิ่งพิมพ์ที่มีความแปลกใหม่  ทันสมัย  เรามองเห็นโอกาสในการดำเนินธุรกิจบริการรับออกแบบพาณิชย์ศิลป์ในครั้งนี้เราได้ใช้หลักการออกแบบอย่างมีส่วนร่วม  นั่นคือ  นักออกแบบใช้กระบวนการชุมชนเพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์ตามที่ชุมชนต้องการ





บริษัท พันธ์ R...ตะวันใหม่ จำกัด



สรรค์สร้างงานหัตถศิลป์ ตอบแทนคุณแผ่นดิน สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น เดินตามรอยพ่อแบบพอเพียง



“รางวัลชนะเลิศ” ได้รับเงินรางวัลรวม 390,000 บาท จากโครงการ "กรุงไทย ยุววาณิช" ชีวิตที่เลือกได้ ครั้งที่ 11
บริษัท พันธุ์ R...ตะวันใหม่ จำกัด ธุรกิจ “คันธารราฐโคมไฟจากหญ้าแฝก” จากการสนับสนุนของ ศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษาแบบครบวงจร วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี


      ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ "คันธารราฐโคมไฟจากหญ้าแฝก" เพื่อเป็นการรณรงค์ส่งเสริมการปลูกหญ้าแฝกในท้องถิ่น และเป็นการต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นในด้านงานหัตถกรรม



แนวคิดการดำเนินธุรกิจ


                หลายปีที่ผ่านมาประเทศไทยเผชิญกับภาวการณ์ชะลอตัวทางเศรษฐกิจ  ปัจจุบันภาครัฐได้เล็งเห็นความสำคัญในการฟื้นฟูความเป็นอยู่ของประชาชนตามแนวพระราชดำริ เศรษฐกิจพอเพียง”  โดยจุดเริ่มต้นของการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง คือ  การฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชนท้องถิ่น  เพื่อเป็นการพัฒนาขีดความสามารถในการผลิตและการบริโภคอย่างพออยู่พอกินไปจนถึงขั้นแปรรูปสู่ภาคอุตสาหกรรมในครัวเรือน  สร้างงาน  สร้างรายได้  สร้างอาชีพ บนพื้นฐานเศรษฐกิจชุมชน  หญ้าแฝกควั่นเกลียวก็นับได้ว่าเป็นการสร้างผลิตภัณฑ์จากชุมชน  ที่ได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชน  ก่อให้เกิดการสร้างงาน  สร้างรายได้  สร้างอาชีพให้แก่ชุมชนอย่างยั่งยืน  การปลูกหญ้าแฝกตามโครงการพระราชดำริ  ช่วยในการพัฒนา ปรับปรุงบำรุงดิน ฟื้นฟูดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ เป็นการอนุรักษ์ดินและน้ำ  ลดภาวะโลกร้อน แก้ปัญหาดินเสื่อมโทรม  นำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

การปลูกหญ้าแฝกของเกษตรกรจำเป็นต้องมีการตัดแต่งต้นหญ้าแฝก โดยต้องตัดแต่งใบอย่างสม่ำเสมอทุก 3-4 เดือน เพื่อป้องกันมิให้หญ้าแฝกออกดอก ช่วยให้หญ้าแฝกแตกหน่อเพิ่มขึ้น และยังช่วยควบคุมไม่ให้หญ้าแฝกสูงเกินไป ทำให้หญ้าแฝกชิดติดกันเป็นกำแพงแน่นและทำหน้าที่กรองตะกอนดินได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด  การนำใบหญ้าแฝกที่ได้จากการตัดตกแต่งมาควั่นเกลียวเชือก  ซึ่งเป็นวัตถุดิบหาง่ายในท้องถิ่นมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ด้านหัตถศิลป์และพุทธศิลป์รูปแบบใหม่  คือ  คันธารราฐโคมไฟจากหญ้าแฝก  นอกจากช่วยสร้างงานแก่ชุมชนสานต่อภูมิปัญญาท้องถิ่นแล้วยังเป็นการสืบสานโครงการตามพระราชดำริของในหลวงอีกด้วย

                หลักการออกแบบและผลิตคันธารราฐโคมไฟจากหญ้าแฝก  เราใช้ทุนทางปัญญา ร่วมกับ ทักษะความคิดสร้างสรรค์  โดยยึดแนวคิดทฤษฎีที่ว่า  การออกแบบ สามารถนำไปผลิตและพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์  ด้านงานหัตถศิลป์ ในรูปแบบที่แปลกใหม่และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ ต่อยอดในเชิงพาณิชย์ได้”  โคมไฟเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทเฟอร์นิเจอร์ใช้ประดับตกแต่งอาคารบ้านเรือนที่พักอาศัย  สื่อถึงรสนิยมของผู้ใช้  การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์โคมไฟจากหญ้าแฝกเป็นการผลิตที่สามารถสื่อถึงอารมณ์สุนทรีภาพทางด้านความรู้สึก ความเชื่อ วัฒนธรรม ที่คงคุณค่าเป็นเอกลักษณ์ของชาวพุทธ โดยสื่อออกมาในลักษณะของพระพุทธรูปแบบคันธารราฐ

                ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช  คติในการสร้างพระพุทธรูปยังไม่มีการทำเป็นรูปมนุษย์ ต่อมาเมื่อราชวงศ์เมารยะถึงกาลเสื่อมลง  แคว้นคันธาระซึ่งในปัจจุบันคือพื้นที่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของปากีสถานฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสินธุเรื่อยไปไปจนถึงลุ่มน้ำคาบูลตอนใต้ได้มีการเปลี่ยนผู้ปกครองกันมาจนถึงรัชสมัยของพระเจ้ากนิษกะ แห่งราชวงศ์ กุษาณะ ได้ทรงเป็นพุทธมามกะและในสมัยนี้เอง คือ ราว  พ.ศ. 600 กว่า พระพุทธรูปองค์แรกก็กำเนิดขึ้นในโลกเป็นต้นกำเนิดของศิลปแบบคันธาระ 
( Ghandara )  หรือในบ้านเราเรียกว่า คันธารราฐ นั่นเอง  ศิลปแบบคันธาระได้รับอิทธิพลจากกรีกและโรมัน เพราะเคยอยู่ภายใต้การปกครองของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ ซึ่งเคยกรีฑาทัพมาตั้งแต่ในราว 2 ศตวรรษก่อนคริสตกาล การสร้างพระพุทธรูปที่นี่จึงเป็นการผสมผสานระหว่างกรีกโรมัน และอินเดียโบราณที่สัมพันธ์กับมหาปุริสลักษณะ  32 ประการของพระพุทธเจ้า อย่างลงตัว พระพุทธรูปคันธาระจึงได้รับการยอมรับจากทั่วโลกว่าเป็นงานพุทธศิลป์ที่งามที่สุด  ทั้งยังมีอายุที่สูงมาก  คือ  ราว  2000  ปี ได้รับความนิยมเป็นสากลจากนักสะสมและพิพิธภัณฑ์นานาชาติจึงมีราคาสูงมาก  ลักษณะสำคัญทางศิลปะของพระคันธารราฐ คือ พระพักตร์คล้าย  เทพอพอลโล  มีเส้นพระเกศาหยิกสลวย  (ยังไม่เป็นก้นหอยเหมือนในยุคหลัง)  มีรัศมี  (Halo)   อยู่หลังพระเศียร  ตามความเชื่อของกรีกที่ทำรูปปั้นเทพต่างๆ ห่มผ้าคลุมแบบริ้วธรรมชาติ  มีอุณาโลมระหว่างคิ้ว  มีอุษณีษะศีรษะ (กะโหลกโป่งตอนบน)  พระกรรณยาว  พระเนตรเหลือบมองต่ำ  เป็นคติธรรมทางพระพุทธศาสนา






ผลตอบแทนความสำเร็จ
ศึกษาดูงานประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน









- Copyright © ศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษาแบบครบวงจร วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี ปรับปรุงแก้ไขโดย โสภณัส แซ่ฝ้า -

หน้านี้แสดงผลได้ดีกับขนาด 1360 x 768 Pixels , Google Chrome or Firefox